โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมสานต่อโครงการโรงเรียนพี่น้อง

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมสานต่อโครงการโรงเรียนพี่น้อง

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม สานต่อโครงการ Sister School หรือโรงเรียนพี่น้อง ร่วมกับเมืองโคเงะ (Koge Town) จังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ปีที่ 7 ซึ่งเป็นโครงการที่จัดส่งเด็กนักเรียนไปใช้ชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ อาศัยอยู่ร่วมกับโฮสต์แฟมิลี่ชาวญี่ปุ่น โดยเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Mr.Tsubone Shusuke นายกเทศมนตรีเมืองโคเงะ เดินทางมาเยี่ยมโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ พร้อมกับร่วมลงนาม MOU สานต่อโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนมาใช้ชีวิตต่างประเทศ พร้อมกับวางแผนโครงการเกี่ยวกับการเรียนการสอนระหว่างสองประเทศ

รศ.พัชรี วรจรัสรังสี ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม เปิดเผยว่าโครงการโรงเรียนพี่น้อง หรือ Sister Schools ระหว่างโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กับเมืองโคเงะ จังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคม 2558

ในครั้งนั้นนักเรียนพร้อมด้วยนายกเทศมนตรี คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา และคณะครูจากโรงเรียนของเมืองโคเงะจำนวน 4 โรงเรียนได้มาเยือนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ก็ได้เดินทางไปเยือนเมืองโคเงะ จึงนำมาสู่การลงนาม MOU โครงการเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2560

โดยที่โครงการนี้มุ่งหวังให้นักเรียนทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม และขนมธรรมเนียมอันงดงามของทั้งสองประเทศ อีกทั้งเพื่อให้นักเรียนเมืองโคเงะได้เรียนรู้การสื่อสารภาษาอังกฤษ ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม

“เป็นระยะเวลาราวกว่า 6 ปี ที่โรงเรียนได้นำนักเรียนเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนในเมืองโคเงะ ประเทศญี่ปุ่น โดยนักเรียนได้ไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น มีการแลกเปลี่ยนทางด้านศิลปะ การวาดภาพ การแสดงดนตรีไทยและญี่ปุ่น รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปีที่แล้วเราไม่สามารถส่งนักเรียนไปประเทศญี่ปุ่นได้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์ทั้งหมด คาดว่าในปี 2566 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม”

ด้าน Mr.Tsubone Shusuke นายกเทศมนตรีเมืองโคเงะ กล่าวว่าความร่วมมือโรงเรียนพี่น้องระหว่างโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมและเมืองโคเงะ สำเร็จเป็นจริงครั้งแรกเมื่อปี 2560 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 130 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

ที่ผ่านมามีนักเรียนจากเมืองโคเงะเดินทางมาแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมกับโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม จำนวน 4 ครั้ง รวม 103 คน และนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม เดินทางไปแลกเปลี่ยนและทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนประถม 4 แห่งในเมืองโคเงะ จำนวน 5 ครั้ง รวม 122 คน ในอนาคตอันใกล้มีแผนจะจัดโครงการห้องเรียนออนไลน์ระหว่างสองประเทศ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ให้นักเรียนได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ดนตรี ศิลปะและกีฬาระหว่างกัน

“กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นนี้ นอกจากจะสร้างเสริมประสบการณ์และความประทับใจให้นักเรียนทั้งสองประเทศได้สัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่างกันแล้ว ในอนาคตยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนทั้งสองประเทศจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนระดมความคิดเห็นระหว่างกันในหลากหลายสาขา อาทิ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว การส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้การแลกเปลี่ยนนี้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น”

อาจารย์รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิรัชกิจและกิจการพิเศษ และหัวหน้าหน่วยประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กล่าวว่าโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม มีการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ป.1-ป.6 เรามีกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้เด็กได้มีการพัฒนาตนเองหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือโครงการ Sister School ซึ่งเราส่งเสริมให้เด็กนักเรียนของได้มีประสบการณ์ไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ

ซึ่งโครงการนี้เริ่มมาแล้วเมื่อ 20 ปีก่อน โดยร่วมแลกเปลี่ยนนักเรียนกับหลายประเทศ แต่ไม่มีความต่อเนื่อง ทำแล้วหยุด จนกระทั่งเมื่อ 6-7 ปีก่อน โรงเรียนได้พบกับ Mr.Tsubone Shusuke นายกเทศมนตรีเมืองโคเงะ ประเทศญี่ปุ่น และได้มีการไปศึกษาดูงานกันไปมาระหว่างสองประเทศ จึงทำให้ตัดสินใจจะดำเนินการโรงเรียนพี่น้องกับโรงเรียนในเมืองโคเงะ

โดยรูปแบบของโครงการ จะจัดส่งเด็กไปที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 7 วัน ขณะเดี่ยวกัน ทางญี่ปุ่นก็จัดส่งเด็กมาเรียนกับเรา เรียกว่าส่งเด็กไปมาหาสู่กันทุกปี แต่ละปีทางสาธิตจุฬาฯ มีการจัดส่งไป 20-30 คนโดยประมาณ ก่อนที่เด็กจะได้ไปจะเปิดรับสมัครผู้ที่มีความสนใจ โดยเฉพาะนักเรียน ป.5-ป.6 และต้องเป็นนักเรียนที่ครอบครัวมีความพร้อมระดับหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าผู้ปกครองจะต้องเป็นโฮสต์แฟมิลี่ต้อนรับนักเรียนญี่ปุ่นด้วย

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมสานต่อโครงการโรงเรียนพี่น้อง

จากนั้นคัดเลือกนักเรียน ในการคัดเลือกเราก็จะเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถพิเศษ ดูความกล้าแสดงออก ความมั่นใจในตนเอง รวมถึงการตอบคำถามจากคณะกรรมการ เป็นคำถามเรื่องการแก้ไขปัญหา เช่น ถ้าไปหลงทางที่ต่างประเทศ จะแก้ปัญหาอย่างไร จากนั้นก็จะเข้าค่าย ฝึกทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน ในการเตรียมความพร้อมไปใช้ชีวิตต่างถิ่น เพราะเขาจะต้องไปอยู่กับโฮสต์แฟมิลี่ของนักเรียนญี่ปุ่น

อาจารย์รัตนาภรณ์กล่าวต่อว่า สิ่งที่สาธิตจุฬาฯ และนักเรียนญี่ปุ่นจะได้รับคือ เป็นกำลังใจให้กันและกัน เพราะนักเรียนญี่ปุ่นเขาอยากเก่งในเรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษ แล้วเด็กไทยของเราก็มีความกล้า ดิฉันมั่นใจว่าเด็กสาธิตจุฬาฯ มีความกล้าอย่างมากที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมถึงกล้าแสดงออกเมื่ออยู่ในชั้นเรียน เรียกว่าเป็นการผลักดันกันและกัน

ส่วนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม แม้เป็นเอเชียเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างบางส่วน ก็เลยอยากให้นักเรียนได้ลองไปใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก ทำให้รู้จักการปรับตัว การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตนเองได้

ทั้งนี้ มองว่าความเปลี่ยนแปลงของนักเรียนหลังจากกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ทุกคนมีความกระตือรือร้น มีความมั่นใจในตนเอง เด็กหลาย ๆ คนไม่เคยห่างบ้าน แต่กลับมาก็กล้าเรียนรู้อะไรหลายอย่าง ตอนเริ่มโครงการ โฮสต์ญี่ปุ่นไม่กล้ารับเด็กไทยไปอยู่ด้วย แต่พอทำมาสักพักเขาก็ต้องการเด็กเรามากขึ้น จึงเป็นที่มาที่เราได้ร่วมกันเดินหน้าโครงการสู่ปีที่ 7

“ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ยาวนานมากกว่าประเทศอื่น ซึ่งจริง ๆ สาธิตจุฬาฯ ประถม มีร่วมกับโรงเรียนที่นิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงกำลังมองหาประเทศอื่น ๆ เพื่อทดลองโครงการ มองว่าในส่วนความร่วมมือกับญี่ปุ่นคิดว่าลงตัวแล้ว ปีนี้คาดว่าจะส่งเด็กทั้งสองประเทศมาแลกเปลี่ยนได้ และเราก็จะมีการพัฒนารูปแบบกิจกรรมมากขึ้น รวมถึงออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ร่วมกัน”

อย่างไรก็ตาม อาจารย์รัตนาภรณ์กล่าวอีกว่า ทิศทางการเรียนการสอนของสาธิตจุฬาฯ จากนี้ไปโรงเรียนให้อิสระกับครูผู้สอนมากขึ้น ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ทันสมัย มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราจะสอนแบบเดิมไม่ได้อีกแล้วเพราะยุคสมัยเปลี่ยน ต้องไม่ปิดกั้นความคิดเด็ก ให้เด็กเรียนรู้กระบวนการคิดสร้างสรรค์มากกว่าบทเรียนเชิงวิชาการ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ hatakeyarns.com

ufa slot

Releated